โต๊ะจีน บนเขาฉานฉู (เขาคางคก)
เนื้อเรื่อง‧ซูลี่อิ่ง ภาพ‧หลินหมินเซวียน แปล‧กฤษณัย ไสยประภาสน์
กุมภาพันธ์ 2018
穿越人聲喧囂的公館圓環,彎入羅斯福路四段119巷,鬧區的高分貝瞬間降了下來,燠熱的高溫似乎也低了1~2℃,依偎在台北盆地南緣的蟾蜍山聚落,櫛比鱗次的低矮平房,密密匝匝沿山而建,夏日時蟲鳥鼓譟,春天夜晚,還能見到螢光點點,老人家在長椅上有一搭沒一搭地閒聊、廚房傳出的炒菜聲與飯菜香、社區居民共有的瓜棚菜圃和綠蔭叢叢的後山……交揉出一片迥異於台北都心的村里景觀。
เดินผ่านวงเวียนกงก่วนที่คราคร่ำไปด้วยผู้คน เลี้ยวเข้าซอยที่ 119 บนถนนรูสเวลต์ ตอนที่ 4 กลางกรุงไทเป เสียงอึกทึกบนท้องถนนก็เงียบลงเหมือนปลิดทิ้ง อุณหภูมิก็ลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ชุมชนบนเขาคางคกที่ร่มรื่นในแอ่งกะทะไทเป กระต๊อบสูงๆ ต่ำๆ ตั้งเรียงรายตามสันเขา คลอเคลียด้วยเสียงแมลงและนกในยามฤดูร้อน ส่วนยามค่ำของฤดูใบไม้ผลิก็ยังจะได้ชมแสงระยิบจากหิ่งห้อย คนแก่คนเฒ่านั่งเอกเขนกบนม้านั่งยาวสนทนาสัพเพเหระ เสียงและกลิ่นหอมจากอาหารในห้องครัว สมาชิกในหมู่บ้านเป็นเจ้าของแปลงผักและร่มไม้ใบหญ้าหลังเขาร่วมกัน ซึ่งประสมประสานบรรยากาศแห่งหมู่บ้านกลางใจเมืองไทเปที่ประทับใจยิ่ง
ย่ำค่ำในฤดูร้อน สมาชิกในหมู่บ้านต่างเตรียมอาหารครอบครัวละ 1 อย่าง ทยอยยกออกมาจากห้องครัวด้วยกลิ่นหอมตลบอบอวล เสมือนการจัดพิธีแห่รอบเมือง แต่ละคนประคองอาหารออกมาด้วยความบรรจง ขึ้นๆ ลงๆ บันไดแคบๆ รวมตัวกันที่โต๊ะยาวหน้าลานบ้านตระกูลหวาง บนโต๊ะวางเต็มไปด้วยอาหารรสเลิศภายในชั่วพริบตา
บรรยากาศที่เห็น คล้ายกับว่าเคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ตระกูลหวางตั้งถิ่นฐานบนเขาคางคกแห่งนี้มานานเกินกว่า 60 ปีแล้ว เป่าเกอ (พี่เป่า) ทายาทรุ่นที่ 2 ของตระกูล เล่าความหลังให้ฟังว่า สมัยเด็ก ตอนเย็นของหน้าร้อน อากาศจะร้อนมาก พวกเราก็จะเอาโต๊ะยาวออกมาตั้ง วางกับข้าวไว้บนโต๊ะ คุณพ่อก็จะไปนั่งดื่มเหล้า พูดคุยสนทนากับเพื่อนบ้าน ส่วนคุณแม่ก็จะพาเด็กๆ เข้าบ้านโน้นออกบ้านนี้ ส่วนพวกเราก็จะมีหมั่นโถว และข้าวต้มถั่วเขียว เดินไปกินไป ตั้งแต่ปากซอยยันท้ายซอย ความผูกพันและความใกล้ชิดอันล้ำลึกเช่นนี้ ได้สืบสานต่อมาอย่างไม่เจือจาง
สีสันอาหารบนโต๊ะส่อสกุล
ในวันนั้น สมาชิกตระกูลหวางยกอาหารที่ทำด้วยฝีมือของตนมีทั้งเนื้อตุ๋น ข้าวต้มถั่วเขียว และปลานวลจันทร์ทะเลทอด เนื้อตุ๋นมาจากร้านขายบะหมี่เนื้อที่คุณพ่อเปิดร้านหลังปลดประจำการจากทหาร แต่ตอนนี้คุณพ่ออายุมากแล้ว ฟันก็ไม่ค่อยดี เป่าเกอใช้เนื้อสันตุ๋นด้วยไฟอ่อน สืบสานรสชาติแห่งมรดกของวงศ์ตระกูลให้อยู่ยงและขจรขจายต่อไป ส่วนข้าวต้มถั่วเขียวทำโดยคุณพี่อาเหม่ย รสชาติแบบคนต่างมณฑลเหมือนกัน ถั่วเขียวแก้ร้อนใน หน้าร้อนทานกินแบบเย็น และยังอาจนำไปผสมซุปเนื้อก็จะมีรสชาติถูกปากด้วย ส่วนเด็กๆ ชอบที่จะเติมน้ำตาลลงไปสักช้อนสองช้อน รับประทานปลาทุกมื้อ
อาหารส่อสกุล ประวัติความเป็นมาของครอบครัวของตระกูลหวางสังเกตดูจากอาหารก็จะรู้ คุณพ่อที่มาจากเมืองจีนกับคุณแม่ที่มีพื้นเพเป็นชาวไต้หวัน มาบรรจบกันด้วยบุพเพสันนิวาส ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของครอบครัวบนเขาคางคก ส่วนคุณแม่ถง ที่มาจากชนเผ่าอามิส ในพื้นที่โซ่วฟง (壽豐) เมืองฮัวเหลียน (花蓮) แต่งงานกับคุณลุงถงที่เป็นทหารเก่ามาจากเฮยหลงเจียง (黑龍江) มีโอกาสเรียนรู้ฝึกการทำหม้อไฟผักดองเนื้อหมู รสชาติแบบภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนคุณแม่เย่ มาจากครอบครัวชาวฮากกาที่เป่ยผู่ เมืองซินจู๋ (新竹北埔) ก็แต่งงานกับคุณลุงเย่ ที่มาจากมณฑลเจียงซู มีฝีมือทำขนมฮากกา แถมด้วยขนมรสชาติจากเมืองจีน
ในยุคสงคราม การแต่งงานแบบข้ามกลุ่มชนไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คนสองคนที่มีภูมิหลังแตกต่างราวฟ้ากับดิน ความเคยชินเรื่องอาหารการกินจะเข้ากันได้หรือไม่ คุณแม่เย่ยิ้มจนตาหยีเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนพวกเราค่อนข้างยากจน แทบไม่มีอะไรจะกิน มีอะไรให้กินก็ดีแล้วล่ะ
“โต๊ะจีน” บนเขาฉานฉู (เขาคางคก)
ผูกมิตรเพื่อนบ้านด้วยอาหารเลิศรส
คุณหลินติ่งเจี๋ย (林鼎傑) อยู่ที่เขาคางคกแห่งนี้มานานกว่า 10 ปี เป็นผู้ก่อตั้งคางคกสตูดิโอ บอกว่า พวกเราก็เหมือนกับเป็นชนบทในเมือง ดูเหมือนว่าประโยคนี้จะเป็นเรื่องจริง เสียงดังจ้อกแจ้กจอแจบนโต๊ะอาหาร ต่างคนต่างตักอาหาร รินเหล้า สนทนากันอย่างสนุกสนาน เต็มไปด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง เล่นเอาผู้คนเริ่มมึนๆ แม้จะยังไม่ได้จิบเหล้าก็ตาม
คุณหลินติ่งเจี๋ยเอารูปเก่าที่เขาถ่ายเมื่อปี 1928 มาโชว์ให้ดู ในตอนนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นที่ปกครองไต้หวันได้จัดตั้งสถานีทดลองเกษตร สถานีปรับปรุงการเพาะเลี้ยงตัวไหมขึ้น ในบริเวณใกล้เคียงกับเขาคางคก โดยมีหอพักเจ้าหน้าที่ตั้งอยู่ริมถนนฟังหลาน (芳蘭路) ที่เชิงเขา ซึ่งนี่ก็คือที่มาของชุมชนแห่งนี้ และหลังสงคราม กองทัพได้สร้างหมู่บ้านฮ่วนหมิน
(煥民新村) ขึ้น มีสมาชิกทั้งหมด 39 ครัวเรือน ประกอบกับความพยายามในการพัฒนาชุมชนในยุคทศวรรษที่ 1960-1970 ก่อสร้างเป็นชั้นๆ จนกลายเป็นชุมชน รวมเอาผู้คนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ซึ่งอพยพมาจากทั่วทุกสารทิศมาไว้ที่นี่ แต่ก็เต็มไปด้วยความคาดหวังในชีวิตที่ดีกว่าเช่นเดียวกัน ประกอบกับบ้านที่สร้างขึ้นแบบพื้นๆ มีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน ผูกพันกันอย่างที่ยากจะหาได้สำหรับชาวเมืองทั่วไป แต่เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติที่นี่
จิ่วไช่เหอ (ขนมกุยช่ายทอด) ในมือของคุณแม่เย่ เรียนวิธีการทำจากคุณลุงเฉินข้างบ้าน โดยเฉพาะลูกคนที่ 3 ของเรา ชอบเข้าออกเพื่อนบ้านทั้งวัน กินซาลาเปาหรือหมั่นโถวของบ้านลุงเฉิน ส่วนครอบครัวของคุณลุงและคุณป้าหวาง มาจากเจียงซู เคยเปิดร้านอาหารที่เซี่ยงไฮ้ พี่เสี่ยวหัวเล่าให้ฟังด้วยความภาคภูมิใจที่สืบทอดฝีมือการทำอาหารมาจากคุณพ่อว่า งานฉลองตรุษจีนของครอบครัวตระกูลหวางมักจะเป็นไปอย่างเอิกเกริก ต้องต้อนรับเพื่อนฝูงถึง 30 คน กินเลี้ยงกันตั้งแต่ก่อนตรุษจีน 3 วัน ไปจนถึงวันที่ 9 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน โดยคุณแม่หวางจะเตรียมอาหารเซี่ยงไฮ้ไว้คอยต้อนรับเพื่อนบ้านเพื่อนฝูง
ยาสมุนไพรพื้นบ้านของชาวอินเดีย
ภายในชุมชนที่เต็มไปด้วยความเอื้ออาทรแห่งนี้ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติไต้หวัน (台灣科技大學) จึงมีนักวิทยาศาสตร์จากทางใต้ของอินเดียพำนักอาศัยอยู่ที่นี่มานานกว่า 10 ปี จากการเล่ากันปากต่อปาก ทำให้มีชาวอินเดียทยอยอพยพมาพำนักตั้งรกรากที่นี่ ปัจจุบันมีอยู่ 6 ครอบครัว ประมาณ 30 คน กลายเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของตน
คุณ Prasannan นักวิจัยระดับดอกเตอร์ที่มาจาก Tami Nadu ของอินเดีย พบสถานที่ที่ห่างจากบ้านเกิดของตนถึง 4,000 กม. แต่มีบรรยากาศคล้ายกับบ้านเกิดของตน ตั้งอยู่บนเขาคางคก กลางเมืองไทเป เขาคางคกหลบมุมอยู่ในเมือง คุณ Prasannan เล่าให้ฟังว่า บ้านเกิดของเขาห่างจากตัวเมืองเพียง 2 กม. เท่านั้น เนื่องจากภาคใต้ของอินเดียเป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และไม่ได้มีความทันสมัยเหมือนกับเมืองทางภาคเหนือของอินเดีย คุณ Prasannan กับเพื่อนจากอินเดียของเขามีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรยาป่าต่างๆ เหมือนกับชนพื้นเมืองหรือรุ่นคุณปู่คุณย่าของพวกเรานั่นเองที่เข้าใจภาวะเสียงจากร่างกายของเรา หาเก็บพืชสมุนไพรตามป่าเขาที่เหมาะจะนำมาใช้บำรุงร่างกายของตน
คุณ Prasannan สามารถแยกแยะประเภทของยาสมุนไพรที่บ้านเกิดของตนได้เกินกว่า 30 ชนิด พวกเขายังปลูกพวกสมุนไพรต่างๆ ไว้บนยอดเขาด้วย ไม่ว่าจะเป็นต้นมะรุม ต้นกล้วย ใบกะหรี่ หรือตะไคร้ เริ่มกันตั้งแต่ประเภทใบและหัว ไปจนถึงผลของมันที่สามารถนำมาใช้ทำอาหาร เสริมความงาม และบำรุงผิว เราก็จะสามารถเข้าใจได้ถึงวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างสมบูรณ์แบบ คุณ Prasannan จะนัดเพื่อนฝูงมารับประทานอาหารที่บ้านเป็นประจำสัปดาห์ละ 2 วัน พวกเขาจะตัดใบกล้วยป่ามาทำเป็นภาชนะ จัดอาหารที่ปรุงแต่งจากผงกะหรี่รูปแบบหลากหลาย เคล้าคลอไปด้วยเสียงดนตรีพื้นบ้านจากบ้านเกิด เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งบ้านเกิดของพวกเขา และยังซึมซับไปด้วยบรรยากาศแห่งการตั้งรกรากชีวิตที่นี่ของพวกเขาด้วย
วันเวลาแห่งเมืองบนเขานิรันดร์กาล
โดยปกติแล้ว อาหารในชีวิตประจำวันจะเป็นการสะสมจากความเคยชินที่เป็นไปอย่างอัตโนมัติ กระทั่งปลายปี 2015 ได้เข้าร่วมในงาน เทศกาลศิลปะสาธารณะเวินหลัวติง (溫羅汀公共藝術季 : A Stroll Through the Willow Den) ที่จัดขึ้นโดยการไฟฟ้าไต้หวัน จะได้ตระเวนแวะชิมอาหารสูตรพิเศษของแต่ละครอบครัว ความลับของสูตรอาหารที่อยู่ในมุมอับได้เผยแพร่สู่สาธารณชน คุณฝงจงเถียน (馮忠恬) นักเขียนที่พำนักอาศัยที่นี่มานานกว่า 5 ปีแล้ว ได้เรียนรู้และจดบันทึกวิธีการทำอาหารจากบรรดาเพื่อนบ้าน ส่วนคุณเจิงยุ่นเจี๋ย (曾韻潔) ศิลปิน ก็เริ่มต้นจากการศึกษาวิธีการย้อมจากพืช เก็บเมล็ดหูกวางกับใบปอสาบนเขาคางคก มาต้มให้กลายเป็นน้ำยาสี แล้วเอามาวาดเป็นแผนที่แห่งอาหารการกิน จัดทำขึ้นเป็นปฏิทินแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้าน และยังได้รับเงินอุดหนุนจากโครงการด้วย ชุมชนแห่งนี้จึงจัดซื้อรถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่ นำอาหารออกไปจำหน่ายนอกชุมชน แบ่งปันสีสันแห่งชีวิตของชุมชนให้แก่ผู้คน คุณ Prasannan ที่เพิ่งแต่งงานใหม่ ก็ถือโอกาสนี้จัดเทศกาลอาหารอินเดียบนรถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่คันนี้
คุณเจิงยุ่นเจี๋ย บอกว่า ครอบครัวที่นี่ประกอบขึ้นจากผู้คนที่มาจากทั่วทุกสารทิศ ทั้งจากเมืองจีน คนไต้หวัน และชาว
ฮากกา มันก็เหมือนกับการย่อไทเปมาไว้ที่นี่ ส่วนคุณฝงจงเถียนก็บอกว่า เขาคางคกเป็นของขวัญชิ้นใหญ่สำหรับตัวดิฉัน มันยากที่จะหาสถานที่แบบนี้ได้ในตัวเมือง ที่ยังคงอนุรักษ์ร่องรอยการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยคุณค่าเหมือนกับเมื่อ 30-40 ปีก่อน เมืองที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเร่งรีบเช่นนี้ ทำให้ชุมชนที่เขาคางคกเสมือนเป็นโค้งสุดท้ายที่รวมเอาอัตลักษณ์แห่งจังหวะชีวิตที่ไม่เร่งรีบไว้ที่นี่ ทำให้ผู้คนที่มีภูมิหลังแตกต่างกันมีความใกล้ชิดกันได้ง่ายขึ้น ใช้ชี
แกงกะหรี่ ข้าวจี่ และข้าวสวย วางเรียงรายอยู่บนใบกล้วย
เครื่องเทศ “Anjara box” ที่ ทุกครอบครัวของชาวอินเดีย ต้องมีไว้ในครัว รสชาติพิเศษ ต่างๆ มาจากเครื่องเทศเหล่านี้ แดง: พริกไทยดำ� ขาว: ผักชีล้อม ม่วง: ผงยี่หร่า น้ำ�เงิน: เมล็ดมัสตาร์ดและ ถั่วดำ�อินเดีย เขียว: ลูกซัด (Fenugreek) เหลือง: ขมิ้น กลาง: กระวาน และขิง