ภาคเอกชนร่วมผลักดันนโยบายมุ่งใต้ใหม่
มูลนิธิเพื่อการแลกเปลี่ยนไต้หวัน-เอเชีย พลังอำนาจแบบอบอุ่นจากไต้หวัน
เนื้อเรื่อง‧ซูเฉินอวี๋ ภาพ‧หลินหมินเซวียน แปล‧แสงชัย กิตติภูมิวงศ์
ตุลาคม 2019
.jpg?w=1080&mode=crop&format=webp&quality=80)
去(2018)年在臺灣亞洲交流基金會舉辦的「玉山論壇」中,總統蔡英文提到台灣可以幫助亞洲,亞洲也能幫助台灣。區域互惠不只落實在台灣的新南向政策,台灣的民間也正默默地以各自的方式,與世界各國做朋友。
ในการประชุมอวี้ซาน ฟอรั่ม (Yushan Forum) ปีค.ศ.2018 จัดโดยมูลนิธิเพื่อการแลกเปลี่ยนไต้หวัน-เอเชีย (Taiwan-Asia Exchange Foundation, TAEF) ไช่อิงเหวิน ประธานาธิบดีแห่งไต้หวัน สาธารณรัฐจีน ได้กล่าวว่า ไต้หวันช่วยเหลือเอเชีย เอเชียก็ช่วยไต้หวันได้ การเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันในภูมิภาค ไม่เพียงแต่จะปรากฏในนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวันเท่านั้น ภาคเอกชนก็ดำเนินการเป็นมิตรกับทั่วโลกด้วยวิธีการต่างๆ อย่างขะมักเขม้นเช่นกัน
เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.2015 กรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงมหาเจดีย์พุทธนาถ (Boudhanath Stupa) ที่ตั้งตระหง่านอยู่ทางตะวันออกชาวบ้านที่ตื่นตระหนกต่างมุ่งไปยังเจดีย์พวกเขาเชื่อว่าเจดีย์จะคุ้มครองให้ปลอดภัยได้ในยามคับขัน
แผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง มีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ถนนเขตภูเขาที่ห่างไกลถูกทำลายจนไม่สามารถใช้สัญจรได้ เป็นอุปสรรคต่อการติดต่อกับภายนอก มีผู้เสียชีวิตเกินกว่า 8,000 คนหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวสิ่งก่อสร้างเก่าแก่พังถล่มโบราณสถานที่มีชื่อเสียงต่างพังทลายลงด้วย
การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูหลังแผ่นดินไหว ไต้หวันไม่แพ้ใคร
ครึ่งปีผ่านไป คุณหวังจินอิง (王金英) ประธานสมาพันธ์พัฒนาด้านการช่วยเหลือต่างประเทศแห่งไต้หวัน (Taiwan Alliance in International Development ชื่อย่อ Taiwan AID) นำทีมอาสาสมัครเข้าไปยังดาติง (Dhading) เขตพื้นที่ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาห่างจากกาฐมาณฑุ ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ 4 ชั่วโมง สภาพถนนเลวร้ายมาก คุณหวังจินอิงบอกว่า “ตลอดทางเห็นมีเต็นท์จำนวนมาก แม้เหตุการณ์แผ่นดินไหวผ่านไปครึ่งปีแล้ว แต่ผู้คนจำนวนมากยังต้องนอนในเต็นท์ ไม่มีน้ำสะอาด ไม่มีห้องน้ำใช้”
การเดินทางครั้งนี้ Taiwan AID ร่วมมือกับโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกระทรวงการต่างประเทศ ระดมทุนช่วยฟื้นฟูเนปาลหลังแผ่นดินไหว “ชาวไต้หวันมีความรักความเอื้ออาทรมาก” เมื่อพูดถึงความเมตตาของชาวไต้หวัน ดวงตาของคุณหวังจินอิงก็เป็นประกาย “ในตอนนั้นกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งฮอตไลน์สายด่วนรับบริจาค ทั้งที่ไม่มีการประชาสัมพันธ์เป็นพิเศษ ก็สามารถรับบริจาคได้ถึง 100 ล้านเหรียญไต้หวัน” เมื่อมีทุนสำหรับฟื้นฟู Taiwan AID จึงร่วมมือกับโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนเข้าไปยังเขตภูเขาดาติง และร่วมมือกับ NGO ในท้องถิ่น EPF (Ecological Protection Forum) เป็นตัวกลางให้ความช่วยเหลือ ทำการก่อสร้างศูนย์พัฒนาชุมชน สิ่งของจากกระทรวงการต่างประเทศได้นำไปส่งถึงมือผู้ประสบภัยอย่างราบรื่น โดยผ่านทาง Taiwan AID และ EPF
หลังสร้างศูนย์พัฒนาชุมชน ชาวบ้านได้ใช้งานสถานที่นี้บ่อยครั้งมาก มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จ่ายกระแสไฟฟ้าเพียงพอสำหรับใช้งาน กลุ่มสตรีดำเนินกิจกรรมอย่างคึกคัก จัดห้องเรียนสอนคอมพิวเตอร์ ปรุงอาหาร ทำให้คนในชุมชนมีชีวิตชีวาในทันที ที่นี่ยังใช้เป็นสถานที่สอนสุขอนามัย อบรมการรักษาพยาบาล และกิจกรรมอื่นๆ หลายอย่าง ภายนอกสิ่งก่อสร้างรูปทรงเตี้ย 2 ชั้นครึ่งที่ตั้งอยู่บนภูเขาหิมาลัย มีธงสาธารณรัฐจีนโบกสะบัดและยังตั้งป้ายให้คนทั่วไปได้รู้ว่า นี่คือ ความรักจากไต้หวัน Love From Taiwan
พลังอำนาจแบบอบอุ่นจากไต้หวัน สร้างความประทับใจให้แก่นานาชาติ
ความช่วยเหลือจากไต้หวัน จากองค์กรดังเช่น Taiwan AID นี้ เซียวซินหวง (蕭新煌) ประธานมูลนิธิเพื่อการแลกเปลี่ยนไต้หวัน-เอเชีย (TAEF) และที่ปรึกษาอาวุโสทำเนียบประธานาธิบดี บอกว่า เป็นพลังอำนาจอบอุ่นจากไต้หวัน Taiwan AID ซึ่งเป็นพันธมิตรของ TAEF ทั้งนี้ TAEF เป็นหน่วยงานคลังสมองจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2018 ได้ผลักดันการติดต่อทุกด้านของไต้หวันกับประเทศเอเชีย และกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเอเชียในเชิงลึก
TAEF คาดหวังที่จะนำพานโยบายมุ่งใต้ใหม่แผ่ขยายในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดประชุม Yushan Forum เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สำคัญประการหนึ่งที่เริ่มตั้งแต่ปี 2017 กลายเป็นกิจกรรมประจำ เป็นเวทีสื่อสารในภูมิภาค Yushan Forum 2018 กำหนดหัวข้อ การสร้างความรุ่งเรืองร่วมกันในภูมิภาค เน้นความรุ่งเรืองและความมีเสถียรภาพในภูมิภาค ทำให้ทั่วโลกได้เห็นนโยบายมุ่งใต้ใหม่และพลังขับเคลื่อนขององค์กรภาคเอกชน ในครั้งนั้นได้มีการเชิญ Kailash Satyarthi เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และ Frederik Willem de Klerk อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเช่นกันเข้าร่วมการประชุม
เอกชนก้าวออกไปเพื่อแลกเปลี่ยนกับนานาประเทศ
นอกจาก TAEF จะผลักดันนโยบายมุ่งใต้แล้ว ยังได้ดำเนินโครงการหลัก 5 ประการครอบคลุมความร่วมมือกับภาคประชาสังคมการแลกเปลี่ยนคลังสมองการบ่มเพาะผู้นำเยาวชนศิลปวัฒนธรรมและดำเนินโครงการที่มีพลวัตในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกซึ่งก็คือการป้องกันภัยพิบัติโดยอาศัยความร่วมมือกับพันธมิตรขยายบทบาทในสิ่งที่รัฐบาลเข้าไปไม่ถึง
ภารกิจโดยรวมของ TAEF คือการผูกมิตรแทนรัฐบาลไต้หวันและส่งเสริมการติดต่อแลกเปลี่ยนในภูมิภาค
“รัฐบาลมักกล่าวเสมอว่า ยึดคนเป็นศูนย์กลาง โครงการหลัก 5 ประการของพวกเราก็ล้วนเกี่ยวกับคน” การป้องกันภัยเป็นการช่วยคน เยาวชนเป็นพลังหลักของประเทศในอนาคต การร่วมมือกับคลังสมองอื่น การเชื่อมโยงกับภาคประชาสังคม ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคนทั้งสิ้น และพวกเราไม่ได้สู้เพียงลำพัง
โครงการหลายอย่างของ TAEF เชื่อมโยงกับ Taiwan AID, The Prospect Foundation, มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ และสถาบันอเมริกาในไต้หวัน (AIT) เป็นต้น ยังได้ติดต่อเชิงลึกกับคลังสมองสำคัญที่มีอุดมการณ์เหมือนกันในกลุ่มประเทศเป้าหมายของนโยบายมุ่งใต้ใหม่ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบาย เจ้าหน้าที่การทูตในไต้หวัน สำนักงานตัวแทน และข้าราชการปัจจุบันหรือเกษียณแล้ว ซึ่งหลายสิ่งหลายอย่างล้วนแต่ทำอย่างขะมักเขม้น ในส่วนที่พลังแบบแข็งของรัฐบาลที่เข้าไม่ถึง จึงใช้พลังแบบอ่อนของภาคประชาชน เพื่อการเชื่อมโยงกับพันธมิตรที่ดีของไต้หวัน
การสื่อสารในภูมิภาค การติดต่อด้านวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ.2019 TAEF ร่วมกับมูลนิธิประชาธิปไตยไต้หวัน (Taiwan Foundation for Democracy) และ Chatham House คลังสมองของอังกฤษ จัดการประชุมสัมมนาปัญหาและการแก้ไขเกี่ยวกับการอพยพและการค้ามนุษย์ในเอเชีย ในเดือนเมษายนได้ร่วมมือกับมูลนิธิแมกไซไซฟิลิปปินส์และสถาบันอเมริกาในไต้หวัน จัดการประชุม Asian Dialogues : Transformative Leadership in Action ซึ่งมีการประชุมเกี่ยวกับการขาดดุลประชาธิปไตย ความไม่สมดุลของการพัฒนาและความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในเอเชีย นอกจากนี้ ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว TAEF ได้เชิญศิลปินด้านทัศนศิลป์ชาวเวียดนาม 6 คน เดินทางมาไต้หวัน พบปะกับศิลปิน จิตรกร ช่างถ่ายภาพ และช่างแกะสลัก ทางมูลนิธิยังได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติเวียดนาม (VICAS) เพื่อความร่วมมืออย่างต่อเนื่องหลังการติดต่อระหว่างกันในครั้งนี้จบลงแล้ว
ในด้านการป้องกันภัยพิบัติ เมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้ TAEF ได้จัดการประชุมสุดยอดพิเศษกับข้าราชการระดับกลางของเวียดนามเมียนมาอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้พร้อมกับแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการป้องกันภัยพิบัติด้วย
การแบ่งปันแบบเสมอภาค พรรณนาเรื่องราวจากไต้หวัน
คุณเซียวซินหวงเห็นว่า การติดต่อระหว่างไต้หวันกับประเทศในเอเชีย เป็นการแบ่งปันประสบการณ์บนความเสมอภาค “พวกเรายินดีแบ่งปัน และพวกเราทำหน้าที่เล่าเรื่องราวไต้หวันแทนรัฐบาลได้”
ดังประสบการณ์ของคุณหวังจินอิงที่ไปช่วยเหลือต่างประเทศ เมื่อ NGO ของไต้หวันไปช่วยเหลือเอเชีย “พวกเราไม่มีจุดประสงค์อื่นใด เป็นความจริงใจในการช่วยเหลือฝ่ายตรงข้าม การช่วยเหลือระยะยาว เป็นการทำอย่างจริงจังแบบไม่ย่อท้อและไม่ทอดทิ้ง”
ในสภาวการณ์ที่สังคมโลกมีความหวาดระแวงต่ออำนาจแหลมคม (Sharp Power) เกาะไต้หวันแห่งนี้ได้กระจายความอบอุ่น มิตรไมตรี โดยอาศัยพลังของภาคเอกชนร่วมมือในนโยบายมุ่งใต้ใหม่ แผ่พลังอันอบอุ่นให้ทั่วโลกได้เห็นว่าไต้หวันมีคุณูปการอันเลิศล้ำต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก