เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา "ท้าวมหาพรหมในไต้หวัน"
เนื้อเรื่อง‧เติ้งฮุ่ยฉุน ภาพ‧เฉินเหม่ยหลิง แปล‧กาญจน์ญาณ์ กฤษณ์ชญาคมน์
มิถุนายน 2016
台灣最早的四面佛是1984年由六福集團自泰國迎請回國安奉的。三十多年來,信眾源源不絕、香火不斷,現今在台灣已有近百餘座四面佛。小小一方空間,四面佛四首八臂仿若時時看望著芸芸眾生,四周滿掛著信眾還願的花圈、花束,匯集了眾人的願望,人生遭遇的困境、心中的祈求都寫在一張張虔誠、祈禱的臉,在神明面前最真心的寄託。
ผู้คนเชื่อกันตามตำนานว่า ทุกวันพฤหัสบดี เป็นวันที่ท้าวมหาพรหมจะเสด็จลงมาโลก มนุษย์ ในซอยหนึ่งบนถนนฉางชุนลู่ (長春路) จึงเต็มไปด้วยเคร่อื งสกั การะท่ผี ้คู นนำมาถวาย ท้าวมหาพรหม มีผู้คนมาบนบานศาลกล่าว และแก้บนไม่ขาดสายตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะ เป็นนักเรียนที่สวมเครื่องแบบมาไหว้ หรือกลุ่ม คนทำงานที่สวมชุดสูทอย่างเนี้ยบ หรือสาว ออฟฟิศที่แต่งกายทันสมัย เห็นได้ว่าทุกคนที่มา ขอพรในมือถือพานดอกไม้และจุดธูปอธิษฐาน ควันธูปท่ลี อยข้นึ ไปเสมือนนำความปรารถนา ของมวลมนุษย์สู่สรวงสวรรค์ สะท้อน ไปถึงท้าวมหาพรหม เทพผู้ ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
“ท้าวมหาพรหม” ที่เชื่อกันว่า ขออะไรก็ได้สมความปรารถนา
ท้าวมหาพรหม ที่ไต้หวันเรียกว่า “ซื่อ เมี่ยนฝอ” (四面佛) แปลว่า พระที่มีสี่หน้า ตามมุมถนนท่วั ทุกหนแห่งในเมืองไทยสามารถ พบเห็นศาลเล็กๆ ที่บูชาเทวรูปท้าวมหาพรหม องค์สีทอง ไม่มีประตูศาล ไม่มีกำแพงกั้น คือ ลักษณะพิเศษของศาลพระพรหม นั่นอาจเป็น เพราะท้าวมหาพรหมเป็นเทพที่อยู่ใกล้ชิดกับ ผู้ศรัทธาพระองค์ที่สุด และเป็นเทพเจ้าฮินดูที่ ชาวไทยให้ความศรัทธามากที่สุด บางคนคิดว่า ท้าวมหาพรหมคงคล้ายกับพระภูมิเจ้าที่ หรือ ถู่ตี้กง (土地公) ตามความเชื่อของชาวจีนซึ่ง เคารพบูชากันตามสถานที่ต่างๆ แต่ความจริง แล้ว ท้าวมหาพรหมคือมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ หนึ่งในสามตรีมูรติของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นเทพผู้สร้าง มีสถานะเป็นมหาเทพอันสูงส่ง
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับ อิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แต่ละ ประเทศมีความเชื่อในท้าวมหาพรหมทั้งนั้น แต่ในเมืองไทยความศรัทธาต่อท้าวมหาพรหม ได้พัฒนาไปมากที่สุด ในปีค.ศ.1956 มีการ ก่อสร้างโรงแรมเอราวัณที่สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ แต่เกิดอุบัติเหตุไม่หยุดหย่อน ทำให้ เจ้าของโรงแรมต้องอัญเชิญท้าวมหาพรหมมา ประดิษฐาน โรงแรมจึงสร้างเสร็จอย่างราบรื่น ชอื่ เสยี งของศาลพระพรหมเอราวณั ทวี่ า่ ขอพร
อะไรก็สมหวังจึงขจรกระจายไปท่วั เอเชีย ทำให้กลายเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวต้องไปเยือนให้ได้ เมื่อไปเที่ยวเมืองไทย
องค์ท้าวมหาพรหมโดยส่วนใหญ่จะประทับบนบัลลังก์ ห้อยพระบาทข้างหนึ่งลงมาเบื้องล่าง มี 4 พักตร์ 8 กร โดย 4 พักตร์มีความหมายตามหลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา (ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความสงสาร อยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดี เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข) และอุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง ว่าทุกสิ่งเป็นไปตามกรรม) หันครบ 4 ทิศ ทั้งเหนือ ใต้ ตะวันออกและตะวันตก เชื่อกันว่าพระพักตร์ทั้ง 4 ให้พร ในเรื่องที่แตกต่างกัน พระพักตร์หน้าที่ 1 ช่วยในเรื่องการ งาน การเรียน เวียนตามเข็มนาฬิกาหน้าที่ 2 ช่วยเรื่อง ความรัก หน้าที่ 3 ช่วยเรื่องการเงิน และหน้าที่ 4 ช่วย เรื่องครอบครัวและสุขภาพ สำหรับทิศที่พระพักตร์หัน ไปนั้น ว่ากันว่าหน้าที่ 1 หันไปทางทิศตะวันตก บางคน กล่าวว่า หันไปทางทิศที่มีคนชุมนุมกันมากที่สุด เพื่อแผ่ พระบารมีคุ้มครองพิทักษ์รักษาผู้คน
ศาลท้าวพระพรหมฉางชุน (長春四面佛) ได้รับความนิยมมากที่สุด
ศาลท้าวมหาพรหมที่เก่าแก่ที่สุดในไต้หวันตั้งอยู่ใน ซอยข้างโรงแรม Leofoo หรือลิ่วฝูเค่อจั้น (六福客棧) ที่ถนนฉางชุนลู่ กรุงไทเป โดยนายจวงฝู (莊福) ผู้ ก่อตั้งลิ่วฝูกรุ๊ปของไต้หวัน ได้อัญเชิญองค์ท้าวมหาพระ พรหมจากเมืองไทยมาประดิษฐานที่ไต้หวัน ด้วยความที่ย่านดังกล่าวเป็นแหล่งที่ตั้ง อาคารสำนักงานธุรกิจการค้า จึงทำให้ผู้คนที่มากราบไหว้บูชาส่วนมากเป็นกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่มาขอพรเรื่องหน้าที่การงานและการเงินให้รุ่งเรือง หรือนักเรียนนักศึกษามาขอพรเรื่องการสอบให้ราบรื่น หรือแม้กระทั่งผู้ศรัทธาที่เดินทางมาจากต่าง จังหวัดเพื่อบนบานศาลกล่าวและแก้บน
“ซื้อดอกไม้สำหรับบูชาไหม?” เสียงจากแม่ค้าแผง ขายดอกไมห้ นา้ ศาลเรยี กผศู้ รทั ธาทมี่ าเยอื นใหซ้ อื้ ดอกไม้ เพราะท้าวมหาพรหมชอบดอกไม้สด ผู้คนส่วนใหญ่จึง นำดอกไม้มาถวายและทำให้ร้านขายดอกไม้ในละแวก นั้นขายดิบขายดี เพียงแค่ในระยะ 100 เมตร มีร้านขาย ดอกไม้เรียงรายอยู่ 7-8 ร้าน
ความศักดิ์สิทธิ์ของท้าวมหาพรหมที่ประทานพรให้ผู้ขอสมหวัง ทำให้ศาลท้าวมหาพรหมฉางชุนซึ่งมีประวัติ ยาวนานกว่า 30 ปี มีผู้ศรัทธาหลั่งไหลมาจุดธูปกราบไหว้ บูชาไม่ขาดสายจนถึงปัจจุบัน รอบศาลทั้งสี่ด้านของพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ ซึ่งประดิษฐานท้าวมหาพรหม 4 พักตร์ 8 กร เสมือนกำลังจับจ้องไปยังมนุษย์ปุถุชนและคอยปกป้อง สรรพสัตว์ตลอดเวลา มีพวงมาลัยหลากสีสันแขวนอยู่ และมีช่อดอกไม้วางอยู่เต็มไปหมด เปรียบเสมือนศูนย์ รวมความหวังของผู้คน ปัญหาและอุปสรรคในชะตาชีวิต ตลอดจนความปรารถนาในใจ ล้วนสะท้อนออกมา บนใบหน้าของผู้มาขอพรต่อหน้าองค์เทพเจ้า
แก้บนบูชาท้าวมหาพรหม
คุณเกาเจิ้นจง (高振忠) ซึ่งทำงานในสถาบันการเงิน กับเพื่อนๆ กลุ่มหนึ่ง เคยเดินทางไปไหว้ท้าวมหาพรหม ที่เมืองไทย ตั้งแต่นั้นมา บริษัทของเขาไม่เพียงแต่จะ รอดพ้นจากวิกฤตสึนามิทางการเงินมาได้แล้ว ยังขยาย จากเดิมที่มีพนักงานประมาณร้อยคนเพิ่มเป็นพันคน กิจการของเขาเติบโตชนิดสวนกระแสกับคู่แข่ง พวก เขาจึงตัดสินใจว่าจะแก้บน เมื่อปีค.ศ.2011 ได้อัญเชิญ เทวรูปท้าวมหาพรหมองค์สีทองมาประดิษฐานที่อำเภอ เถียนเหว่ย เมืองจางฮั่ว (彰化田尾) ซึ่งเป็นแหล่ง จำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน และได้เชิญพระอาจารย์จากเมืองไทยมาทำพิธีเบิกเนตร ฐานที่ ประทับให้ศาสตราจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยตงไห่ นครไทจง (Tunghai University) นำคณะนักศึกษามา ช่วยกันสร้าง ใช้เครื่องสักการะบูชาและพิธีกรรมทั้งหมด ทำตามอย่างไทย มีพวงมาลัยดอกดาวเรืองสำหรับ สักการะบูชา และช้างไม้เป็นเครื่องแก้บน
เนื่องจากศาลแห่งนี้ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว ทำให้มีผู้มาสักการะในช่วงสุดสัปดาห์กันอย่างเนืองแน่น ผู้ศรัทธาส่วนใหญ่มาจากต่างเมือง คุณเกาเจิ้นจงเล่าถึง ประสบการณ์ที่รู้สึกว่าพระองค์ศักดิ์สิทธิ์มากที่สุด อย่างมีผู้ศรัทธาคนหนึ่งมาบนขอให้เพื่อนที่ยืมเงินไปคืนเงิน ปรากฏว่าหลังจากไหว้เสร็จก็ได้รับโทรศัพท์จากเพ่อื นคน ที่ยืมเงินซึ่งขาดการติดต่อไปนาน ทำให้เขาคนนั้นต้อง แก้บนทันที
ทางศาลจะนำรายได้จากเงินบริจาคมอบให้โรงเรียนในท้องถิ่น คนชราที่อาศัยตามลำพังและคนในชนบทอยู่เป็น ประจำ และยังเชิญพระอาจารย์จากเมืองไทยมาสักยันต์ ให้แก่ผู้ศรัทธา ถือเป็นการคืนกำไรสู่ท้องถิ่น ทุกสุดสัปดาห์ จะเชิญนักศึกษาไทยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติจงซิง นครไทจง (National Chung Hsing University) มารำแก้บนเบื้องหน้าองค์ท้าวมหาพรหม บรรดานักศึกษาที่มารำก็รู้สึกเป็นเกียรตที่มีโอกาสได้รำถวายรับใช้แก่ท้าว มหาพรหมด้วย
อัญเชิญท้าวมหาพรหม เพื่อให้คน งานไทยได้สักการะบูชา
ศาลท้าวมหาพรหมนำเชา หรือหนานเฉียวซื่อเมี่ยนฝอ (南僑四面佛) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.2013 ภายในบริเวณ โรงงานของนำเชากรุ๊ป ที่นิคมอุตสาหกรรมกุยซัน นคร เถาหยวน นำเชากรุ๊ปเริ่มต้นจากธุรกิจอุตสาหกรรมเคมี และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ขยายกิจการไปยังอาหาร และเบเกอรี่ด้วย ในยุคปี 1990 นำเชากรุ๊ปได้ไปลงทุนตั้ง โรงงานที่ประเทศไทย เพื่อตอบแทนที่รัฐบาลไทยให้ความ ช่วยเหลือการลงทุนของบริษัท เมื่อนำเชากรุ๊ปฉลองครบ รอบ 60 ปี นอกจากจะเปิดโรงงานเชิงท่องเที่ยวในนิคม อุตสาหกรรมกุยซันแล้ว ยังอัญเชิญองค์ท้าวมหาพรหม จากเมืองไทยมาประดิษฐานภายในบริเวณโรงงานให้คน งานในโรงงานได้กราบไหว้ เพื่อให้คนงานไทยที่จากบ้าน เกิดเมืองนอนมาอยู่ต่างแดนมีที่ยึดเหนี่ยวพึ่งพิงทางใจ ทำให้ศาลท้าวมหาพรหมนำเชาค่อนข้างห่างไกลคำว่า ทำเป็นธุรกิจสักหน่อย อบอวลไปด้วยบรรยากาศที่สงบ และน่าเลื่อมใสศรัทธา
ศาลท้าวมหาพรหมนำเชาไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ ของมิตรภาพระหว่างไต้หวันและไทย คุณไช่ ผู้จัดการ โรงงานในนครเถาหยวนยังกล่าวอีกว่า หลังจากตั้งศาลพระพรหม กิจการยังเจริญรุ่งเรืองดีวันดีคืนอีกด้วย ไม่ว่าจะมีปัญหาใดๆ ก็สามารถแก้ปัญหาผ่านพ้นไปได้ ด้วยความราบรื่น ดังนั้น เมื่อปีที่แล้วที่มีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ ศาลท้าวมหาพรหมนำเชาที่ไต้หวันจึงมีการทำพิธีขอพร เพื่อส่งความปรารถนาดีจากไต้หวันสู่ไทยด้วย
ธรรมเนียมเกี่ยวกับการบูชาท้าว มหาพรหม
นับตั้งแต่ท้าวมหาพรหมฉางชุนซงึ่ เป็นท้าวมหาพรหมองค์แรกได้เข้ามาเป็นที่รู้จักในไต้หวัน เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว จากการประเมินพบว่า ปัจจุบันมีศาลท้าวมหาพรหมเกือบ 100 แห่งในไต้หวัน ธรรมเนียมในการสักการะบูชาท้าวมหาพรหมได้ผนวกเข้ากับวัฒนธรรม ท้องถิ่นไต้หวัน ตัวอย่างเช่น การเฉลิมฉลองเทศกาล ดั้งเดิมที่สำคัญของไต้หวันจะใช้วันตามปฏิทินจันทรคติ ของจีน ศาลท้าวมหาพรหมฉางชุนจึงกำหนดวันประสูติ ของท้าวมหาพรหมตรงกับวันที่ 9 เดือน 11 ตามปฏิทิน จันทรคติจีน นอกจากนี้ พิธีกรรมในการสักการะบูชา ท้าวมหาพรหมจะเห็นว่าส่วนมากมีลักษณะพิเศษเฉพาะ ไต้หวัน การสักการะบูชาแบบดั้งเดิมของไทยจะรวบรัดมาก คือวางดอกไม้ก่อน แล้วจุดธูปบนบานศาลกล่าว วิธีการจุดธูป ใช้ธูป 7 ดอก (บ้างก็ว่า 16 ดอก) เริ่มปัก ธูปจากพระพักตร์หน้าแรก 3 ดอก แล้วเวียนตามเข็ม นาฬิกาหน้าละ 1 ดอก จนครบทุกหน้า โดยมากไต้หวันมักไหว้โดย ใช้ธูป 4 ดอก นอกจากนี้ ยังได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านของ ศาสนาดั้งเดิมจึงมีการโยนไม้เสี่ยงทาย (เรียกว่าไม้ปวย มีลักษณะเป็นไม้ครึ่งจันทร์เสี้ยวสีแดง) เสี่ยงเซียมซีวนควันที่กระถางธูป และถวายเครื่องสักการะ พิธีกรรม เหล่านี้ได้หลอมรวมเข้ากับพิธีกรรมสักการะบูชาท้าว มหาพรหมด้วย รูปแบบของการรำแก้บนในไต้หวันนั้นมีความคึกคักและมีชีวิตชีวา ตั้งแต่รำไทย เต้นโคโยตี้ หรือ เต้นแซมบ้าก็มี แต่คุณสวี่เหม่ยหลิง (許美齡) นักแสดงรำไทยบอกว่า การรำถวายพระพรหมที่เมืองไทยนั้น เป็นพิธีกรรมที่ต้องทำอย่างระมัดระวังและพิถีพิถันมาก จะกระทำอย่างลวกๆ ไม่ได้โดยเด็ดขาด
ความเข้าใจในเชิงลึกเป็นมารยาทพื้นฐานต่อ mวัฒนธรรมต่างชาติ แต่กระบวนการทำให้วัฒนธรรม กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นเป็นกระแส ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่อาจจะเหตุผลที่คนไต้หวันใช้วิธีการในแบบฉบับของตนเอง มาสักการะองค์ท้าวมหาพรหม ดังสำนวนจีนที่ว่า เมื่อจิตใจมุ่งมั่นและศรัทธาสิ่งปรารถนา ก็จะบรรลุผล หากใจสัตย์ซื่อและนอบน้อมจะไม่มีข้อหวง ห้าม และความเลื่อมใสศรัทธาเท่านั้น จะเป็นหนทาง สื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้