นับตั้งแต่นิตยสาร “ไต้หวันพาโนรามา” ฉบับภาษาอาเซียน (ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม) รายสองเดือนตีพิมพ์เผยแพร่เป็นต้นมา ได้รับความนิยมและเป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนพี่น้องชาวอาเซียนและบรรดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อาศัยอยู่ในไต้หวัน ตลอดจนได้รับความชื่นชมจากวงการต่างๆ
นิตยสาร “ไต้หวันพาโนรามา” ภาษาอาเซียน ฉบับที่ 35 (เดือนสิงหาคม พ.ศ.2564) จัดทำขึ้นภายใต้ธีมหลัก “พิพิธภัณฑ์ไต้หวัน” โดยแบ่งเป็น 4 บท ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะอวี้ซิ่ว ณ ตีนดอยจิ๋วจิ่ว, ปรัชญาแห่งชีวิตจากเชิงเขาในเหมียวลี่ แผนสร้างป่า 100 ปีของ CMP Village, การเดินทางสุดแฟนตาซีของเมล็ดพืช กับพิพิธภัณฑ์เมล็ดเชียนฉี, เก็บเกี่ยวและสัมผัสประสบการณ์จากธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมป่าไม้หลวนซาน โดยเริ่มจากมุมมองของสุนทรียศาสตร์สิ่งปลูกสร้าง ธรรมชาติยั่งยืน อนุรักษ์พันธุ์พืช และวัฒนธรรมชนพื้นเมือง เพื่อให้เพื่อนๆ จากอาเซียนได้รู้จักไต้หวันมากขึ้นและค้นพบสุนทรียภาพของไต้หวัน
บทความเรื่อง “รู้จักไต้หวัน” ในฉบับนี้ ได้แนะนำเกี่ยวกับ “ศิลปะบนนาข้าว เทศกาลเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูใบไม้ร่วงที่ฉือซ่าง” เมืองไถตง ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของไต้หวัน ศิลปินนักดนตรีได้แสดงเปียโนท่ามกลางบรรยากาศโรแมนติกกลางท้องทุ่งสีทองเหลืองอร่ามของรวงข้าว ลมเอื่อยๆ ละเลียดเคล้าคลอไปตามต้นข้าวในทุ่งนา เสียงเปียโนขับกล่อมในหุบเขา สำหรับชาวบ้านที่นี่แล้ว มิใช่เป็นเพียงกิจกรรมการแสดงศิลปะเท่านั้น หากยังเป็นเทศกาลประจำปีที่ระดมผู้คนจากทุกสารทิศ และเป็นการพบกันท่ามกลางความงดงามระหว่างชาวฉือซ่างกับผู้คนต่างถิ่น
นอกจากนี้ คอลัมน์พิเศษ “อาเซียน” ยังมีบทความพิเศษเรื่อง “เปลี่ยนขยะให้เป็นสมบัติล้ำค่า “Made”งานแกะสลักไม้จากเกาะบาหลี” โดย Made Sukariawan ซึ่งเริ่มฝึกงานแกะสลักมาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ได้เล่าเรื่องราวความรู้สึกเกี่ยวกับความหมายของการแกะสลักที่มีต่อชีวิตของเขาและหนทางที่ทำให้เขาได้รู้จักกับไต้หวัน จนในที่สุดจึงตัดสินใจลงหลักปักฐานในไต้หวัน ถ่ายทอดวิชาการแกะสลักไม้ จัดนิทรรศการผลงานของตนเอง ตั้งแผงลอยตามตลาดนัด... เป็นต้น สร้างฝันให้เป็นจริง
นิตยสาร “ไต้หวันพาโนรามา” ภาษาอาเซียน จะยังคงยืนหยัดในการทำหน้าที่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างไต้หวันกับหมู่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนให้มีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันสืบไป